อีกหนึ่งโรคที่เกษตรกรที่เฝ้าระวังในการระบาดของเชื้อรา ส่งผลให้ผลผลิตอ้อยเกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง ควบคุมได้ง่ายๆ
สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร เตือนระวังโรคแส้ดำ (Sporisorium scitamineum) หรือเชื้อราคาในไร่อ้อย สืบเนื่องจากสภาพอากาศร้อน สลับมีฝน ทำให้อ้อยปลูกใหม่ในระยะแตกกอ เสี่ยงที่จะเป็นโรคเชื้อรา “แส้ดำ” ได้
ลักษณะของโรคแส้ดำนั้น ส่วนยอดของหน่อหรือลำอ้อยที่เป็นโรค หรือยอดสุดต้นจะมีลักษณะคล้ายแส้ยาวสีดำ เกิดโรคสร้างสปอร์สีดำจำนวนมาก รวมตัวกันแน่นอยู่ภายในเนื้อเยื้อของใบสุดที่ม้วนอยู่ ทำให้เป็นลักษณะคล้านเส้นสีดำตั้งตรง หรือม้วนงอ ทำให้ลำต้นแคระ ลำยอมยาว ข้อสั้น แตกกอมาก เมื่อมีอาการรุนแรงอ้อยจะแห้งตาย โดยการแพร่ระบาด สปอร์จะติดไปกับลมพัด ฝนและน้ำ หรือท่อนพันธุ์ที่ได้รับเชื้อโดยตรงจากเชื้อที่อยู่ในดินก่อนเพาะปลูก
การป้องกันและกำจัด เกษตรกรควรปฏิบัติดังนี้
- ใช้ท่อนพันธุ์สะอาด ไม่ควรใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาด
- ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น พันธุ์ในตระกูลอู่ทอง พันธุ์ขอนแก่น 3
- ในแปลงที่เป็นโรครุนแรง ควรไถทิ้ง ไม่ควรปลูกซ้ำทันที ก่อนปลูกจะต้องทำให้สปอร์ของเชื้องอกและตยไปเองเมื่อไม่พบพืชอาศัย
- ใช้ยาฆ่าเชื้อรา แช่ท่อนพันธุ์ หรือฉีดพ่นในแปลงอัตรา 1 กิโลกรัม ต่ำน้ำ 200 ลิตร
- แช่ท่อนพันธุ์อ้อยในสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไตรไดอามีฟอน หรือโพรพิโคนาโซล แช่นาน 30 นาทีก่อนปลูก
- ตรวจไร่อ้อยอย่างสม่ำเสมอหลังปบูก หากพบต้นที่แสดงอากาศ ควรตัดออกขณะเริ่มปรากฎก่อนที่เยื้อหุ้มแส้ดำจะหลุดออก
- ขุดกออ้อยที่เป็นโรคออกมาเผาทำลาย และหลีกเลี่ยงการไว้ตออ้อยที่เป็นโรค
หมั่นดูแล รักษาอย่างถูกวิธีจะช่วยให้ผลผลิตในไร่อ้อยเจริญเติบโตและสร้างผลกำไรให้กับเกษตรกรได้อย่างง่าย
ข้อมูล : สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร