ลดเผา ลดฝุ่น ด้วยจุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง

ศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี เข้าร่วมเป็นเกียรติพิธีลงนามความร่วมมือ โครงการ “ลดเผา เบาฝุ่น” เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรไทยลดการเผาตอซังและฟางข้าว ลดฝุ่น PM 2.5 ด้วยจุลินทรีย์

วันพฤหัสบดี ที่ 17 ตุลาคม 2567 นายเฉลิมชาติ  ฤาไชยคาม ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวลพบุรี เข้าร่วมเป็นเกียรติพิธีลงนามความร่วมมือ โครงการ “ลดเผา เบาฝุ่น” เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรไทยลดการเผาตอซังและฟางข้าว ลดฝุ่น PM 2.5 ด้วยจุลินทรีย์ โดยมี นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ณ พิพิธภัณฑ์กสรเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

โครงการ “ลดเผา เบาฝุ่น” จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 ครอบคลุมพื้นที่นำร่อง 59,000 ไร่ ใน 6 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท และสุพรรณบุรี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรกว่า 2,400 ราย สามารถปรับเปลี่ยนวิถีการเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้ขับเคลื่อนนโยบาย 3R Model ตามนโยบายรัฐบาลเพื่อเป็นแนวทางในการลดปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร เป้าหมายสำคัญ คือทำความเข้าใจกับเกษตรกรให้เข้าใจถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยไม่เผา และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุทางการเกษตร ทั้งนี้ พื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ จะมีปริมาณตอซังและฟางข้าว เฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการฟางข้าวและตอซัง เพื่อเป็นทางเลือกในการเพิ่มรายได้และผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่ตัดสินใจเผาฟางข้าวและตอซัง เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการปลูกพืชหมุนเวียนต่าง ๆ จนทำให้ฟางถูกเผาทิ้งอย่างน่าเสียดาย การเผาฟางนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม จนกลายเป็นมลภาวะและก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก จึงมีหลายภาคส่วนร่วมกันหานวัตกรรมใหม่ มาช่วยในการย่อยสลาย โดยต้องปลอดภัยทั้งเกษตรกร ปลอดภัยต่อพืช ไม่มีสารตกค้างต่อสิ่งแวดล้อมด้วย โดยปกติแล้วฟางข้าวมีปริมาณธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เฉลี่ย 0.51 0.14 และ 1.55 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณธาตุอาหารรองของพืชได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์ เฉลี่ย 0.47 0.25 และ 0.17 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อย่อยสลายเป็นอินทรียวัตถุจะปรับเพิ่มปริมาณธาตุอาหารในดินเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ประหยัดต้นทุนการซื้อปุ๋ย เป็นวงจรการปรับปรุงบำรุงดินที่สำคัญอีกทางหนึ่ง

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ร่วมกับบริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) ภายใต้บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อการขับเคลื่อนการศึกษาทดสอบเทคโนโลยีชีวภาพ โดยการทดสอบประสิทธิภาพจุลินทรีย์ย่อยสลาย ร่วมกับ บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) ภายใต้บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พบว่าได้ผลเป็นอย่างดี จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการและพื้นที่ของเกษตรกร จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายตอซังและฟางข้าวได้ภายใน 7 วัน มีขั้นตอนการใช้งานอย่างง่าย โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม เพียงฉีกซองผสมน้ำ เตรียมหัวเชื้อในปริมาณ 100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร สำหรับใช้ในพื้นที่ 1 ไร่ที่มีน้ำท่วมตอซัง ซึ่งผลการทดสอบเกษตรยอมรับในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่เผาในพื้นที่การเกษตรของตนเอง และมีความพึงพอใจต่อการใช้จุลินทรีย์เป็นอย่างมาก โดยในระยะต่อไปมีแผนที่จะสนับสนุนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 2,400 ราย ในพื้นที่ 59,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท และสุพรรณบุรี

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการเผาของเกษตรกร จะต้องใช้เทคโนโลยี และผลการวิจัย ศึกษา ทดสอบ และเห็นผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจริงของการทดสอบ ซึ่งจะเป็นแนวทางในการบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ภาคการเกษตร ร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อสร้างอากาศสะอาด พื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน

ข่าว : ศูนย์วิจัยข่าวลพบุรี, ศูนย์ข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร

อ่านข่าว  คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ให้บริการเชิงรุกและแก้ปัญหารวมถึงให้การช่วยเหลือพี่น้องเกษตรในพื้นที่ห่างไกล

พื้นที่โฆษณา

สอบถามรายละเอียด

โทรศัพท์ 081-8935498
อีเมล [email protected]

ข่าวในกระแส

พื้นที่โฆษณา

สอบถามรายละเอียด

โทรศัพท์ 081-8935498
อีเมล [email protected]

เสียงใหม่…คัดสรรข่าวเพื่อคุณ

สำนักข่าว Lopburi Today ลพบุรีทูเดย์

139 หมู่ 2 ต.ป่าตาล อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี 15000

โทรศัพท์ 081-8935498

กองบรรณาธิการ : [email protected]

ติดต่อโฆษณา : [email protected]

© 2024 Lopburi Today | ลพบุรีทูเดย์  All Right Revised.