10 พืชใช้น้ำน้อย ปลูกได้ ในฤดูแล้ง

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีภาวะแห้งแล้ง ในฤดูหนาว-ร้อน โดยส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชผักครัวเรือน 

กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผย พืชที่ใช้น้ำน้อย ใช้เพาะปลูกในฤดูแล้ง จำนวน 10 ชนิด เพื่อเป็นช่องทางหรือแนวทางให้เกษตรกรได้เพาะปลูกในฤดูแล้งที่จะถึงนี้

พืช 10 ชนิดมีอะไรบ้างมาดูกัน

  • คะน้า ใช้ปริมาณการให้น้ำที่ 300 ลบ.ม./ไร่ สร้างมูลค่า 25 บาท/กก.
  • เห็ดฟาง ใช้ปริมาณการให้น้ำที่ 300 ลบ.ม./ไร่ สร้างมูลค่า 125 บาท/กก.
  • กวางตุ้ง ใช้ปริมาณการให้น้ำที่ 300 ลบ.ม./ไร่ สร้างมูลค่า 16 บาท/กก.
  • ถั่วเขียวผิวมัน ใช้ปริมาการให้น้ำที่ 350 ลบ.ม./ไร่ สร้างมูลค่า 29 บาท/กก.
  • ถั่วฝักยาว ใช้ปริมาณการให้น้ำที่ 400 ลบ.ม./ไร่ สร้างมูลค่า 43 บาท/กก.
  • มะระจีน ใช้ปริมาณการให้น้ำที่ 500 ลบ.ม./ไร่ สร้างมูลค่า 20 บาท/กก.
  • แตงกวา ใช้ปริมาณการให้น้ำที่ 560 ลบ.ม./ไร่ สร้างมูลค่า 20 บาท/กก.
  • พริก ใช้ปริมาณการให้น้ำที่ 700 ลบ.ม./ไร่ สร้างมูลค่า 53 บาท/กก.
  • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ใช้ปริมาณการให้น้ำที่ 700 ลบ.ม./ไร่ สร้างมูลค่า 9 บาท/กก. **ที่ความชื้น 14.5%
  • มันเทศ ใช้ปริมาณการให้น้ำที่ 700 ลบ.ม./ไร่ สร้างมูลค่า 32 บาท/กก. 

ทั้งนี้ปริมาณให้น้ำ และราคา จะขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และฤดูกาลในการเพาะปลูก โดยสาเหตุที่ทำให้ต้องปลูกพืชใช้น้ำน้อย

เพราะสภาพภูมิประเทศไทย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพชาวบ้าน ปลูกข้าวเป็นหลัก เพื่อให้สร้างมูลค่านอกจากข้าว และพื้นที่ข้างแปลงนายังคงว่างไม่ได้ใช้ประโยชน์ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่นาให้เป็นประสิทธิภาพ โดยเกษตรสามารถปลูกข้าว 1 รอบ และปลูกพืชใช้น้ำน้อยหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี อีกทั้งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำทำนา สร้างรายได้มากกว่าการปลูกข้าวนาปีและนาปรัง อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง

ข่าว/ภาพ : กรมส่งเสริมการเกษตร

อ่านข่าว  เริ่มแล้วงานมหกรรมอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ไร้แอลกอฮอล์ ครั้งที่ 16 12-18 ธันวาคม นี้ 

พื้นที่โฆษณา

สอบถามรายละเอียด

โทรศัพท์ 081-8935498
อีเมล [email protected]

ข่าวในกระแส

พื้นที่โฆษณา

สอบถามรายละเอียด

โทรศัพท์ 081-8935498
อีเมล [email protected]

เสียงใหม่…คัดสรรข่าวเพื่อคุณ

สำนักข่าว Lopburi Today ลพบุรีทูเดย์

139 หมู่ 2 ต.ป่าตาล อ.เมืองลพบุรี จ.ลพบุรี 15000

โทรศัพท์ 081-8935498

กองบรรณาธิการ : [email protected]

ติดต่อโฆษณา : [email protected]

© 2024 Lopburi Today | ลพบุรีทูเดย์  All Right Revised.